วันพฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2555

โครงงาน บูรณาการของระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนตากพิทยาคม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชา สุขศึกษษและพละศึกษา

โครงงาน คุณค่าที่แฝงในเมี่ยงเต้าเจี้ยว

ที่มาและความสำคัญ
                อาหารว่างเป็นอาหารระหว่างมื้อหรือรับประทานเล่นๆ ที่มีปริมาณน้อยกว่าอาหารประจำมื้อหลัก เช่นเดียวกันเมี่ยงเต้าเจี้ยวเป็นอาหารว่างพื้นบ้านของคนเมืองตาก ซึ่งปัจจุบันประชาชนส่วนใหญ่หันไปรับประทานอาหารจำพวก อาหารขยะ (Junk food) กันมากเกินไป ทั้งๆที่เมี่ยงเต้าเจี้ยวจังหวัดตากของเราอุดมไปด้วยสารอาหารมากมาย เนื่องจากเมี่ยงเต้าเจี้ยวมีส่วนประกอบสำคัญคือสมุนไพร ยกตัวอย่างเช่น พริกขี้หนูสด, ตะไคร้ซอย, ขิงสด และใบชะพู เป็นต้น และที่สำคัญเราควรจะอนุรักษ์อาหารพื้นบ้านของจังหวัดตากไว้ เนื่องจาก เมี่ยงเต้าเจี้ยวเป็นเหมือนวิถีชีวิตของคนเมืองตากที่สืบทอกกันมาช้านาน และคู่ควรกันจังหวัดตากต่อไป

จุดมุ่งหมาย
1.             เพื่อศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของเมี่ยงเต้าเจี้ยว
2.             เพื่ออนุรักษ์อาหารของจังหวัดตาก และช่วยประชาสัมพันธ์ให้มีผู้รู้จักและรับประทานเมี่ยงเต้าเจี้ยวมากขึ้น
3.             เพื่อเรียนรู้การทำงานเป็นหมู่คณะ

ระยะเวลาดำเนินการ
                ตั้งแต่เดือน ตุลาคม – มกราคม 2555

สถานที่ศึกษาค้นคว้า
                โรงเรียนตากพิทยาคม
วิธีดำเนินการ
ในขั้นตอนของวิธีดำเนินการโครงงาน คุณค่าที่แฝงในเมี่ยงเต้าเจี้ยว ผู้จัดทำได้นำเสนอตามตารางต่อไปนี้
ลำดับ
กิจกรรมที่ปฏิบัติ
วัน/เดือน/ปี
ผู้รับผิดชอบ
1
ศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล
25/10/55
เด็กชาย ตะวัน  สันติพนารักษ์
เด็กชาย ธนภัทร  อินทรกุญชร
เด็กหญิง ณัฐธิดา  นามสองวงค์
2
ประชุมเรื่องการนำเสนอ
27/11/55
เด็กชาย ตะวัน  สันติพนารักษ์
เด็กชาย ธนภัทร  อินทรกุญชร
เด็กหญิง ณัฐธิดา  นามสองวงค์
3
ออกแบบใบปลิว
22/12/55
เด็กชาย ตะวัน  สันติพนารักษ์
เด็กชาย ธนภัทร  อินทรกุญชร
4
ทำใบปลิว
01/01/56
เด็กหญิง ณัฐธิดา นามสองวงค์
5
แจกใบปลิว
02/01/56
เด็กชาย ตะวัน  สันติพนารักษ์
เด็กชาย ธนภัทร  อินทรกุญชร
เด็กหญิง ณัฐธิดา  นามสองวงค์
6
นำเสนอ
03/01/56
เด็กชาย ตะวัน  สันติพนารักษ์
เด็กชาย ธนภัทร  อินทรกุญชร
เด็กหญิง ณัฐธิดา  นามสองวงค์
7
เผยแพร่ลงอินเตอร์เน็ต
05/01/56
เด็กชาย ตะวัน  สันติพนารักษ์
เด็กชาย ธนภัทร  อินทรกุญชร
เด็กหญิง ณัฐธิดา  นามสองวงค์
ตาราง 1 ตารางแสดงวิธีดำเนินการโครงงาน
งบประมาณที่ใช้ในการดำเนินงาน                 200 บาทถ้วน
วัสดุอุปกรณ์
o   กล่องกระดาษ
o   กระดาษสี
o   สี
o   อุปกรณ์การเขียนต่างๆ เช่น ปากกา ดินสอ ยางลบ ฯลฯ


สรุปผลและข้อเสนอแนะ
ผลสรุป
1.             จากการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลพบว่า เมี่ยงเต้าเจี้ยวมีส่วนประกอบที่ให้คุณค่าทางโภชนาการ ซึ่งคุณค่าทางโภชนาการดังกล่าว ได้แก่ วิตามิน B ธาตุเหล็ก แคลเซียม ฯลฯ และสารอาหารเหล่านี้มีส่วนช่วยให้เรามีสุขภาพแข็งแรง และส่วนประกอบบางอย่างช่วยในการรักษาโรคอีกด้วย
2.             จากการเผยแพร่พบว่า ผู้คนหันมารับประทานเมี่ยงเต้าเจี้ยวมากขึ้นและส่งผลดีให้กับผู้ผลิตสินค้าดังกล่าวให้มีรายได้เพิ่มจากการผลิตและนำขายสู่ตลาด ซึ่งถือเป็นการสืบสานละอนุรักษ์อาหารพื้นบ้านจังหวัดตาก
3.             และในการทำโครงงานครั้งนี้สมาชิกในกลุ่มไดรู้จักขั้นตอนวิธีการทำโครงงาน รู้จักแบ่งงานการทำงาน

ข้อสรุปผลที่คณะผู้จัดทำได้กล่าวมานี้ก็สมดังวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้

ข้อเสนอแนะ
                หากมีผู้ที่สนใจในเรื่องเมี่ยงเต้าเจี้ยวเมืองตาก คณะผู้จัดทำก็ยินดีที่จะสนับสนุนเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะ ในฐานะความเป็นคนจังหวัดตากก็สมควรที่จะอนุรักษ์เมี่ยงเต้าเจี้ยวให้คงอยู่ต่อไปจนถึงรุ่นลูกและหลานต่อไป



วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ไม้ 3 อย่างประโยชน์ 4 ประการ

ไม้ 3 อย่าง
ลักษณะไม้ 3 อย่าง เป็นชนิดไม้ที่มีความสัมพันธ์เกื้อกูลกับวิถีชีวิตของชุมชน คือ
   1. ไม้ใช้สอยและเศรษฐกิจ เป็นชนิดไม้ที่ชุมชนนำไปใช้ในการปลูกสร้างบ้านเรือน โรงเรือน เครื่องเรือน คอกสัตว์
เครื่องมือในการเกษตร รวมทั้งไม้ที่สามารถนำมาทำเป็นเครื่องจักรสานเพื่อนำไปใช้นำครัวเรือน และเมื่อมีพัฒนาการทางฝีมือก็สามารถจัดทำเป็นอุตสาหกรรมครัวเรือน นำไปจำหน่ายเป็นรายได้ของชุมชน ซึ่งเรียกว่า เป็นไม้เศรษฐกิจของชุมชน
2. ไม้ฟืนเชื้อเพลิงของชุมชน ชุมชนในชนบทต้องใช้ไม้ฟืน เพื่อการหุงต้มปรุงอาหาร สร้างความอบอุ่นในฤดูหนาว
สุมควายตามคอก รวมทั้งไม้ฟืนในการนึ่งเมี่ยง และการอบถนอมอาหาร ผลไม้บางชนิด ไม้ฟืนมีความ จำเป็นที่สำคัญ หากไม่มีการจัดการที่ดีไม้ธรรมชาติที่มีอยู่จะไม่เพียงพอในการใช้ประโยชน์ ความอัตคัดขาดแคลนจะเกิดขึ้น ดังนั้นจะต้องมีการวางแผนการปลูกไม้โตเร็วขึ้นทดแทนก็จะทำให้ชุมชนมีไม้ฟืนใช้ได้อย่างเพียงพอ
3. ไม้อาหารหรือไม้กินได้ ชุมชนดั้งเดิมเก็บหาอาหารจากแหล่งธรรมชาติ ทั้งการไล่ล่าสัตว์ป่าเป็นอาหาร รวมทั้งพืชสมุนไพร อดีตแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์จึงเป็นแหล่งอาหารเสริมสร้างพลานามัยในธรรมชาติเสริมสร้างสุขภาพให้มีกินมีใช้อย่างไม่ขาดแคลน
ประโยชน์ 4 ประการ
ไม้ 3 อย่าง เมื่อปลูกไปแล้วจะก่อให้เกิดประโยชน์ 4 ประการ คือ
 1. ในสภาพปัจจุบันป่าไม้ลดลงเป็นจำนวนมาก ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างทั่วถึง และเพียงพอ ดังนั้น เมื่อมีการปลูกไม้ที่มีความเหมาะสมและมีคุณสมบัติที่ดีเพื่อการใช้สอยและสามารถนำมาใช้เสริมสร้างอาชีพได้ โดยมีการวางแผนอย่างมีส่วนร่วมและดูแลรักษาก็จะทำให้ชุมชนมีไม้ไว้ใช้สอยอย่างไม่ขาดแคลน และจะไม่สร้างผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่และหากมีการปลูกในปริมาณที่มากพอ ชุมชนก็สามารถนำมาเสริมสร้างอาชีพเสริมได้ทำให้ชุมชนมีรายได้เสริมให้มีความอยู่ดีกินดีขึ้น
2. ไม้ฟืนเป็นวัสดุเชื้อเพลิงพื้นฐานของชุมชน หากชุมชนไม่มีไม้ฟืนไว้สนับสนุนกิจกรรมครัวเรือน ชุมชนจะต้องเดือดร้อนและสิ้นเปลืองเงินทอง เพื่อการจัดหาแก๊สหุงต้ม หรือจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อการจัดหาวัสดุเชื้อเพลิงประเภทอื่นๆ
 3. พืชอาหารและสมุนไพรรวมทั้งสัตว์แมลง ที่ชุมชนสามารถเก็บหาได้จากธรรมชาติจะเป็นอาหารที่มีคุณค่าปลอดสารพิษ อันเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพอนามัยของคนในชุมชน เป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย อีกทั้งถ้ามีปริมาณเกินกว่าที่ต้องการแล้วยังสามารถใช้เป็นสินค้าเสริมสร้างรายได้อีกทางหนึ่งด้วย
4. เมื่อมีการปลูกไม้เจริญเติบโตเป็นพื้นที่ขยายมากเพิ่มขึ้น และมีการปลูกเสริมคุณค่าป่าด้วยพันธุ์ต่างๆ ทำให้เกิดความหลากหลายและเป็นการอนุรักษ์ดินและนํ้า รวมทั้งก่อให้เกิดการอนุรักษ์พื้นที่ต้นนํ้าลำธาร

คุณธรรมจริยธรรมในการใช้อินเตอร์เน็ต (2)

จริยธรรมในการใช้อินเตอร์เน็ต
  1. ความมีเหตุผล รู้จักไตร่ตรอง ไม่หลงงมงาย มีความยับยั้งชั่งใจ ไม่ใช้อารมณ์         
  2. ความซื่อสัตย์สุจริต ไม่คิดคดทรยศ ไม่คดโกงและไม่หลอกลวง การรักษาคำพูดหรือคำมั่นสัญญา    
  3. ความเสียสละ การให้ปันแก่ผู้ที่ควรได้รับ ด้วยกำลังกาย กำลังทรัพย์ กำลังสติปัญญา มีจิตใจกว้างขวาง ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน        
  4. ความสามัคคี ความพร้อมเพรียงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน การร่วมมือกันทำกิจการให้สำเร็จลุล่วงด้วยดีความ พร้อมเพรียง หรือความปรองดองกัน
  5. ความรับผิดชอบ ความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย อีกทั้งยังพยายามที่จะปรับปรุงการปฏิบัติหน้าที่ให้ดียิ่งขึ้น                                
  6. ความกตัญญูกตเวที การรู้บุญคุณและตอบแทนคุณต่อคนอื่นและสิ่งอื่นที่มีบุญคุณ                 
  7. ความ อดทนอดกลั้น คือ การรู้จักข่มใจในเวลาที่เผชิญกับเหตุการณ์ที่เย้ายวนทุกรูปแบบ อันจะทำให้ไม่เกิดความเสียหายหรือถลำลึกลงไปในความชั่วร้าย หรือความทุจริตทั้งปวง                        
  8. ความถ่อมตัว การวางตนอย่างเหมาะสมไม่แสดงตนเหนือผู้อื่น 
   


คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเตอร์เน็ต(1)

คุณธรรม (อังกฤษ: Virtue) เป็น มุมมองแง่หนึ่งของ จริยธรรม ซึ่งคำนึงถึง สิ่งที่ถูกและผิด
จริยธรรม หรือ จริยศาสตร์ เป็นหนึ่งในวิชาหลักของ วิชาปรัชญา ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับความดีงามทางสังคมมนุษย์
                คุณธรรมจริยธรรมในการใช้อินเตอร์เน็ต
                มารยาทในการใช้อินเตอร์เน็ต
มารยาทในการใช้อินเทอร์เน็ต เรียกว่าบัญญัติ 10 ประการของการใช้อินเทอร์เน็ตก็ได้ โดยอาจารย์ ยืน ภู่วรวรร  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
  - ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือละเมิดผู้อื่น 
 
- ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น 
 - ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น 
 - ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
 - ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
 
 - ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์ 
 -
 ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์ 
 - ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน 
 - ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมที่เกิดจากการกระทำของท่าน
 - ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ กติกา และมีมารยาท
          

วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บอกไว้ก่อน เดี๋ยวไม่รู้ จะงงเอา ฮิๆ

"สวัสดีค่ะ ชาวบล็อกเกอร์ทุกๆคน ฉันคือ เด็กนักเรียน MEP ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนตากพิทยาคม
มีนามว่า 'เด็กหญิง ณัฐธิดา นามสองวงค์' หรือนั่นก็คือ  'FERN เฟิร์น' นั่นเอง เรียกกันเล่นๆกันตามสบายนะคะ เผอิญไม่สงวนลิขสิทธิ์ 555+ ก็ฮากันไปนะคะ ก็บล็อกนี้ เฟิร์นก็ขอให้เป็นบล็อกสำหรับโชว์ผลงานที่ได้ทำ เเละสะสมมาในช่วงการศึกษาในระดับชั้นมัธยมต้น ก็ขอทุกๆคนชมผลงานหรืออาจจะเป็นการสร้างเสียงตลกขบฮาเพื่อที่จะไม่เบื่อบล็อกที่เป็นเหมือนในเเนวๆวิชาการ เเต่ผิดละค่ะเพราะบล็อกนี้จะเป็นบล็อกที่มีทั้งวิชาการเเละเสียงหัวเราะเพื่อที่จะไม่ให้เกิดอาการเครียด ก็ขอขอบคุณทุกท่านนะคะ"
N.NSW

วันอาทิตย์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2555